เว็บบอร์ด สมอ.



กระทู้

ประเภทกระทู้ : ความคิดเห็น

หมวดหมู่ : การกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)

หัวข้อกระทู้ : ขอส่งเรื่องร้องเรียน/ร้องทุกข์ ของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ราย นร02670050988

รายละเอียดกระทู้ :

กชอ. ได้รับเรื่องร้องเรียน ของ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ราย นร02670050988
เรื่อง ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการควบคุมมาตรฐานและการติดตั้งเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า
ขอให้กระทรวงอุตสาหกรรมออกมาตรฐานเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า โดยออกเป็นเครื่องหมาย มอก.
สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการทดสอบ การออกใบรับรองสำหรับผู้ที่ผ่านการฝึกอบรม เพื่อติดตั้งเครื่องชาร์จไฟรถยนต์


โพสต์โดย : USER

วันที่โพสต์ : 2025-01-09 11:56:20


ความคิดเห็น

กชอ. มีบันทึก ที่ อก 0701(2)/14 ลงวันที่ 6 มกราคม 2568 แจ้ง กก. เพื่อดำเนินการ


ตอบโดย : กลุ่มช่วยอำนวยการ

วันที่ตอบ : 2025-01-09 11:56:47

อยู่ระหว่างดำเนินการให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องพิจารณา


ตอบโดย : กองกำหนดมาตรฐาน

วันที่ตอบ : 2025-01-09 13:23:06

เครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (Wall Mounted Charger) เป็นผลิตภัณฑ์ในขอบข่ายมาตรฐาน มอก. 61851เล่ม 22-2560 ที่ซึ่งล่าสุด สมอ. ได้กำหนดมาตรฐานใหม่ขึ้นแทนที่มาตรฐานดังกล่าว เพื่อให้มาตรฐานทันสมัยเทียบเท่ามาตรฐานสากล โดยมาตรฐานใหม่คือ มอก. 61851 เล่ม 1-2567 ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนเตรียมการประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยมาตรฐานใหม่คาดว่าจะมีผลภายในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ นี้ ซึ่งผู้ผลิตสามารถขอรับการรับรองผลิตภัณฑ์เพื่อแสดงเครื่องหมาย มอก.ได้ และผู้บริโภคควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย มอก. เช่นกัน
ในส่วนของการติดตั้งใช้งานเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้านั้น เพื่อให้มีการควบคุมและช่วยเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน ควรจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกัน (เครื่องตัดวงจรไฟฟ้า) ติดตั้งตั้งด้วย ซึ่งผู้บริโภคควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมาย มอก. เพื่อให้ได้อุปกรณ์ที่มีคุณภาพเป็นไปตามมาตรฐาน ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันนั้นมีมาตรฐานที่เกี่ยวข้องได้แก่ มอก. 909-2567 (RCBO), มอก. 2425-2560 (RCCB), มอก.60898 เล่ม 1-2567 (CB), มอก. 2955-2562 (RCCB type F type B)
ในด้านการติดตั้งนั้น ปัจจุบันมีมาตรฐานการติดตั้งทางไฟฟ้าสำหรับบริภัณฑ์จ่ายไฟยานยนต์ไฟฟ้าเพื่อการอัดประจุไฟฟ้า โดย กฟน. กฟภ. และ กกพ. กำหนดไว้ให้ผู้เกี่ยวข้องใช้เป็นแนวทาง ซึ่งผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้าควรเป็นผู้เชี่ยวชาญและดำเนินการติดตั้งตามมาตรฐานการติดตั้งดังกล่าว อย่างไรก็ดีในขั้นตอนการขอติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้าเพื่อใช้งานกับเครื่องชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟน. กฟภ. มีขั้นตอนการตรวจสอบการติดตั้งระบบไฟฟ้าซึ่งจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานดังกล่าว จึงจะได้รับการอนุญาตให้เชื่อมต่อใช้งานมิเตอร์ไฟฟ้าได้ และขณะนี้ วสท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำมาตรฐานการติดตั้งระบบไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้าฉบับใหม่เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีตามมาตรฐานสากล และคาดว่าจะมีการดำเนินการจัดอบรมรวมถึงการรับรองให้แก่ผู้ติดตั้งระบบไฟฟ้าสำหรับเครื่องชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าต่อไป


ตอบโดย : กองกำหนดมาตรฐาน

วันที่ตอบ : 2025-02-10 13:37:07