- ขวด PET สำหรับบรรจุยา ไม่อยู่ในขอบข่าย มอก. 655 เล่ม 1 เนื่องจากผลิตภัณฑ์ยาไม่อยู่ในนิยามของ คำว่า “อาหาร” อย่างไรก็ตามภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุยาอยู่ในขอบข่าย มอก.
มอก. 531-2558 ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุผลิตภัณฑ์เภสัชปราศจากเชื้อ (ผลิตภัณฑ์บังคับ)
มอก. 686-2558 ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุยาตา
มอก. 517-2558 ขวดพลาสติกสำหรับบรรจุยาเม็ดและแคปซูล
- ขวด PET สำหรับแอลกอฮอล์
กรณีเป็นแอลกอฮอล์ทางเภสัช ไม่อยู่ในขอบข่ายนิยามของคำว่า “อาหาร”
กรณีเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ อยู่ในขอบข่าย มอก. 655 เล่ม 1
- ขวด PET สำหรับน้ำส้ม
กรณีเป็นน้ำส้ม ไม่อยู่ในขอบข่าย มอก. 655 เล่ม 1 แต่อยู่ในขอบข่าย มอก. 997-2554ภาชนะพลาสติกสำหรับบรรจุอาหารที่มีกรดอินทรีย์
- ขวด PET สำหรับน้ำอัดลม น้ำหวานอยู่ในขอบข่าย มอก. 655 เล่ม 1
แต่อย่างไรก็ดี สมอ. อำนวยความสะดวก หากกรณีที่โรงงานผลิตเพื่อส่งให้โรงงานผลิตอาหารจะให้เป็นความรับผิดชอบของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา จะได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตกับ สมอ.
แต่หากโรงงานผลิตภาชนะพลาสติกเพื่อการจำหน่ายทั่วไป เช่น ให้ประชาชนบรรจุน้ำหวาน น้ำผลไม้ สุราพื้นบ้าน จำหน่ายตามตลาดนัด ร้านอาหารทั่วไป จำเป็นต้องขอรับอนุญาตตาม มอก. 655 เล่ม 1
2. ฝาพลาสติก ขวด PET สำหรับบรรจุยา น้ำส้ม น้ำอัดลม แอลกอฮอล์ น้ำหวาน เข้าข่าย มอก. หรือไม่ ถ้าเข้าข่าย มอก. เล่มไหนค่ะ
ขอให้พิจารณาเช่นเดียวกับขวด PET เนื่องจาก มอก. 655 เล่ม 1 มีข้อความ “รวมถึงส่วนประกอบที่สัมผัสอาหาร เช่น ฝา ฝาในสำหรับริน”